หน้าเว็บ

วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2555

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์เบื้องต้น


องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์เบื้องต้น

คำนิยาม :

คอมพิวเตอร์ คือ เครื่องจักรที่ทำงานตามลำดับชุดคำสั่งหรือโปรแกรม ซึ่งมีหน้าที่พื้นฐาน อย่าง คือ ส่วนรับข้อมูลส่วนประมวลผลข้อมูลส่วนแสดงผล และ ส่วนจัดเก็บข้อมูลและคำสั่ง

ชุดคำสั่งหรือโปรแกรม คือ เซตของชุดคำสั่งที่คอมพิวเตอร์สามารถ ตีความ เข้าใจ และ ดำเนินการได้

ส่วนรับข้อมูล (Input) คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับคำสั่ง หรือ ข้อมูลเพื่อส่งต่อไปให้กับส่วนประมวลผล เช่น แป้นพิมพ์ และ เมาส์ เป็นต้น

ส่วนประมวลผล (Processing) คือ ส่วนอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่คำนวณ/เปรียบเทียบ ข้อมูลและชุดคำสั่งที่ได้รับมาจากส่วนรับข้อมูล ภายในของส่วนประมวลผล แบ่งออกเป็น ส่วน คือ ส่วนการคำนวณ/เปรียบเทียบ และ ส่วนควบคุม โดยส่วนคำนวณ/เปรียบเทียบจะทำงานภายใต้การควบคุมของส่วนควบคุม เช่น หน่วยประมวลผลกลาง(Central Processing Unit: CPU) เป็นต้น สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก เราเรียก CPU ว่า Micro-Processorโดย ข้อมูลดิบที่ผ่านขั้นตอนการประมวลผล เราจะเรียกว่า สารสนเทศ (Information)

ส่วนแสดงผล (Output) คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการแสดงคำตอบจากขั้นตอนส่วนประมวลผล เช่น จอภาพ หรือ เครื่องพิมพ์

ส่วนจัดเก็บ (Storage) คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูล สำหรับการเรียกกลับมาใช้ภายหลัง

เป็นการแสดงความสัมพันธ์ของหน้าที่พื้นฐานของระบบคอมพิวเตอร์ โดยส่วนรับข้อมูล (ในรูป คือ แป้นพิมพ์)จะรับข้อมูลหรือคำสั่งจากผู้ใช้ จากนั้นจะทำการส่งคำสั่งนั้นไปให้ส่วนประมวลผล (ในรูปคือ  Intel Pentium 4)ถ้าคำสั่งนั้นเป็นคำสั่งที่ต้องไปอ่านข้อมูลจากส่วนจัดเก็บ คอมพิวเตอร์ก็จะทำการอ่านข้อมูลจาก แผ่นดิสก์เก็ตหรือแผ่นซีดี จากนั้นข้อมูลก็จะถูกส่งจากส่วนจัดเก็บเข้ามาไว้ในส่วนประมวลผล และผลจากการทำงานก็จะถูกส่งไปยังส่วนแสดงผล (ในรูป คือ จอภาพและสามารถนำกลับไปจัดเก็บในส่วนจัดเก็บได้ถ้าหากผู้ใช้ต้องการ


         
 

เหตุผลที่นำ คอมพิวเตอร์มาใช้งาน


             1. สามารถบันทึกข้อมูลต่างๆ ได้รวดเร็ว เช่น การใช้เครื่องอ่านรหัสแท่ง (Bar-code) อ่านเวลาเข้า-ออก ของพนักงาน และคิดราคาสินค้า ในห้างสรรพสินค้า
             2. สามารถเก็บข้อมูลจำนวนมากๆ ไว้ในฐานข้อมูล (Database) เพื่อใช้งานได้ทันที
             3. สามารถนำข้อมูลที่เก็บไว้มาคำนวณทางสถิติ แยกประเภท จัดกลุ่ม ทำรายงานลักษณะต่างๆ ได้ โดยระบบประมวลผลข้อมูล (Data Processing)
             4. สามารถส่งข้อมูลจากที่หนึ่ง ไปยังอีกที่หนึ่งได้อย่างรวดเร็ว โดยอาศัยเทคโนโลยีสื่อสารข้อมูล (Data Communication)
             5. สามารถจัดทำเอกสารต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว ด้วยระบบประมวลผลคำ (Word Processing) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation)
             6. การนำมาใช้งานทั้งด้านการศึกษา การวิจัย
             7. การใช้งานธุรกิจ งานการเงิน ธนาคาร และงานของภาครัฐต่างๆ เช่น การนำคอมพิวเตอร์มาใช้กับงานบัญชี งานบริหารสำนักงาน งานเอกสาร งานการเงิน การจองตั๋วเครื่องบิน รถไฟ
             8. การควบคุมระบบอัตโนมัติต่างๆ เช่น ระบบจราจร, ระบบเปิด/ปิดน้ำของเขื่อน
             9. การใช้เพื่องานวิเคราะห์ต่างๆ เช่น การวิเคราะห์สภาวะดินฟ้าอากาศ สภาพของดิน น้ำ เพื่อการเกษตร
           10. การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อจำลองรูปแบบ เช่น การจำลองในงานวิทยาศาสตร์ จำลองโมเลกุล จำลองรูปแบบการฝึกขับเครื่องบิน
           11. การใช้คอมพิวเตอร์นันทนาการ เช่นการเล่นเกม การดูหนัง ฟังเพลง
           12. การใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกับเทคโนโลยีล้ำสมัยอี่นๆ เทคโนโลยีสื่อสารข้อมูล เกิดเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นต้น