หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ใยอาหาร...สำคัญกับแม่ตั้งครรภ์


ใยอาหาร...สำคัญกับแม่ตั้งครรภ์


            อาการท้องผูก เป็นอาการที่พบได้บ่อยในคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์  เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนและขนาดของมดลูกที่ใหญ่ขึ้นจนกดทับลำไส้ทำให้ระบบทางเดินอาหารเคลื่อนไหวช้าระบบขับถ่ายก็เปลี่ยนไป แต่ก็เป็นอาการที่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ด้วยวิธีง่ายๆ  นั่นคือการเลือกกินอาหารที่ดีต่อระบบขับถ่าย และสุขภาพของคุณแม่ท้อง และอาหารที่คุณแม่ท้องควรเลือกรับประทานเพื่อป้องกันอาการท้องผูกก็คือ อาหารที่มีเส้นใยอาหารสูง
        ใยอาหาร เป็นส่วนของอาหารที่ได้จากพืช ซึ่งไม่ถูกย่อยโดยเอนไซม์ของคนเรา ประโยชน์ของใยอาหารโดยเฉพาะกับคุณแม่ตั้งครรภ์นั้น คืออาหารที่มีเส้นใยสูงจะทำให้คุณแม่ร็สึกอิ่มเร็วและอิ่มทนกว่าอาหารที่มีเส้นใยต่ำ เพราะการย่อยใช้เวลานานกว่า และการดูดซึมก็เป็นไปอย่างช้าๆ  ที่สำคัญเ ส้นใยอาหารช่วยเพิ่มปริมาณของอุจจาระจึงกระตุ้นให้ลำไส้ใหญ่ทำงานได้ดีขึ้น
          กลุ่มอาหารที่มีใยอาหารสูง ได้แก่ ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือและผักชนิดต่างๆ เช่น ตำลึง กุยช่าย รวมถึงผลไม้ต่างๆ เช่น ลูกพรุนไม่ว่าจะเป็นพรุนสด, พรุนเมล็ดหรือน้ำลูกพรุนที่จะช่วยให้คุณแม่ขับถ่ายได้สะดวกยิ่งขึ้น เพราะผลไม้ประเภทนี้อุดมไปด้วยไฟเบอร์มีสรรพคุณเป็นยาระบายอ่อน ๆ  นอกจากนี้ยังมีกล้วย และมะละกอที่ล้วนแต่มีใยอาหารสูง ช่วยให้ขับถ่ายคล่องค่ะ
           นอกจากการกินอาหารที่มีเส้นใยสูงแล้ว คุณแม่ตั้งครรภ์ก็ควรดื่มน้ำให้เพียงพอในปริมาณวันละ  8-10 แก้ว เพื่อให้ร่างกายมีความชุ่มชื้น และสดชื่นอยู่เสมอค่ะ

กลยุทธ์รับมืออาการแพ้ท้อง


กลยุทธ์รับมืออาการแพ้ท้อง

อาการแพ้ท้องนั้นเป็นเรื่องปกติที่ต้องเกิดขึ้นกับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในช่วงท้องอ่อนๆ แต่คุณแม่ก็สามารถรับมืออาการแพ้ท้องที่เกิดขึ้นได้ด้วยวิธีง่ายๆ คือ  

    • คุณแม่ควรดื่มน้ำให้มากๆ แต่อย่าดื่มร่วมกับอาหารหรือหลังอาหารทันที ให้ดื่มน้ำก่อนหรือหลังอาหารสัก 30 นาที และระหว่างวันให้จิบน้ำบ่อยๆ เพื่อหลีกเลี่ยงอาการขาดน้ำ
    • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีอุณหภูมิร้อนหรือเย็นจัด หรือถ้าเครื่องดื่มทำให้ท้องไส้ปั่นป่วน ลองรับประทานผักผลไม้แทน เช่น แตงโม ผักกาดหอม ซึ่งจะมีน้ำเป็นส่วนประกอบอยู่มากค่ะ
    • หลีกหนีให้ไกลจากกลิ่นที่ทำให้ท้องของคุณแม่ปั่นป่วน หากจำเป็นต้องปรุงอาหาร ให้เปิดหน้าต่างหรือเปิดพัดลมดูดกลิ่นค่ะ
    • แม้จะไม่รู้สึกหิว คุณแม่ก็ควรพยายามบังคับตัวเองให้รับประทาน เพราะการที่ท้องว่างจะทำให้อยากอาเจียนได้ง่ายกว่าเมื่อมีอาหารอยู่ในท้องค่ะ
    • คุณแม่อาจรับประทานอาหารในแต่ละมื้อได้ไม่มาก ให้แบ่งอาหารเป็นมื้อย่อยๆ แต่รับประทานหลายๆ มื้อแทน อาจจะแบ่งมื้ออาหารเป็น 5-6 มื้อต่อวันเลยก็ได้  จะช่วยให้ได้รับอาหารเพียงพอต่อความต้องการค่ะ
    • การรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูงบางชนิด อาจทำให้คุณแม่รู้สึกไม่สบายท้อง เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู คุณแม่อาจลองรับประทานเนื้อปลา ไข่ต้มสุกแทน ก็จะช่วยให้ดีขึ้นได้ค่ะ
    • หลีกเลี่ยงอาหารมันและรสเผ็ด หรืออาหารรสจัด มีเครื่องเทศมากเนื่องจากทำให้เกิดอาการจุกเสียดแน่นหน้าอกได้ง่าย ดูแลรักษาสุขภาพของตัวเองให้ดี อย่าปล่อยให้ท้องว่างนานเกินไป หากรู้สึกหิว ควรหาอาหาร หรือของว่างรับประทาน  คุณแม่จึงควรมีขนม ของขบเคี้ยวที่มีโปรตีนสูงไว้ใกล้มือ เพื่อหยิบรับประทานได้ง่าย เช่น ขนมจำพวกถั่ว, เครื่องดื่ม หรือขนมที่ทำจากถั่งเหลือง ทานของว่างที่มีรสเค็มนิดๆ ก่อนมื้ออาหารเพื่อช่วยปรับสภาพท้อง
    • ก่อนเข้านอนตอนกลางคืน ควรหาขนมปังจืดหรือขนมปังกรอบธัญพืชทานสัก 1-2 ชิ้น เพื่อไม่ให้ท้องว่างนานเกินไป หรือควรรับประทานอาหารเบาๆ (เช่น แครกเกอร์) หรือเครื่องดื่มอุ่น ๆ ก่อนนอน จะทำให้หลับสบายและควรเตรียมไว้ที่ใกล้ๆ เตียงด้วย เพื่อตอนเช้าตื่นขึ้นมา ก็ควรดื่มเครื่องดื่มที่เตรียมไว้ หรือรับประทานแครกเกอร์เมื่อตื่นนอนขึ้นทันทีก่อนลุกจากเตียงไปทำกิจวัตรประจำวัน เพราะหากลุกตอนท้องว่างจะทำให้วิงเวียนได้

อาหารต้านเครียด สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์


อาหารต้านเครียด สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์



    ในช่วงตั้งครรภ์ คุณแม่หลายคนจะเกิดความเครียด และพยายามสรรหาวิธีการต่างๆ เพื่อคลายเครียด การเลือกรับประทานอาหารก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยลดอาการเครียดได้ โดยอาหารที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยวิตามินบีและวิตามินซี จะช่วยต่อต้านความเครียดได้ คุณแม่ตั้งครรภ์ควรรับประทานเป็นประจำสม่ำเสมอ โดยเฉพาะอาหารเช้าที่เป็นอาหารมื้อที่สำคัญที่สุดของวันจะต้องมีวิตามินครบถ้วน
     วิตามินบีมีมากในธัญพืชทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นข้าวกล้อง ข้าวฟ่าง ถั่วแดง และถั่วต่างๆ ส่วนวิตามินซีมีมากในผลไม้รสเปรี้ยวทุกชนิด รวมทั้งฝรั่งสดด้วย การรับประทานผักผลไม้สดก็จะทำให้ได้รับวิตามินและกากใยไฟเบอร์ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานเป็นปกติ แถมยังช่วยดูดสารพิษในร่างกายออกไป เป็นการล้างพิษส่วนหนึ่งด้วย
        ที่สำคัญ สิ่งที่จะช่วยให้คุณแม่ตั้งครรภ์คลายเครียดได้ดีก็คือควรพยายามรับประทานอาหารอย่างมีความสุข ในบรรยากาศดีๆ รับประทานช้าๆ เคี้ยวให้ละเอียด ซึมซับรสอาหารจะทำให้เกิดความสุขมากขึ้นค่ะ  และเมื่อเกิดความสุขจากการรับประทานอาหารแล้ว ก็คงจะทำให้ความทุกข์ที่เกิดจากความเครียดลดลงไปได้ไม่มากก็น้อยค่ะ แต่คุณแม่ไม่ควรจะรับประทานอาหารที่หวานจัด  มันจัดมากนะคะ เพราะอาหารพวกนี้ มีน้ำตาลและไขมันสูง ถึงแม้ว่าจะอร่อยแต่ก็ทำให้อ้วน ซึ่งก็เป็นที่ทราบกันดีว่าคนท้องอ้วนไปก็ไม่ดีค่ะ

ที่มา : enfababy.com

แคลเซียมแค่ไหนที่คุณแม่ท้องต้องการ


แคลเซียมแค่ไหนที่คุณแม่ท้องต้องการ


            แคลเซียมเป็นสารอาหารที่สำคัญต่อการตั้งครรภ์เป็นอย่างมาก เพราะแคลเซียมที่คุณแม่ตั้งครรภ์ได้รับนั้น จะไปช่วยพัฒนาโครงสร้างร่างกาย โดยเฉพาะการสร้างกระดูก และฟันของทารกในครรภ์ คุณแม่ที่ตั้งท้องอยู่จำเป็นต้องได้รับแคลเซียมเพิ่มขึ้น เพราะหากขาดแคลเซียมแล้วจะเกิดอาการกล้ามเนื้อปวดเกร็งในบริเวณต่างๆ ของร่างกาย หรือที่เรียกว่าตะคริวกินนั่นเอง โดยจะเป็นบริเวณน่อง และจะเกิดขึ้นทั้งๆ ที่ไม่ได้ออกกำลังกายหรือเดินมาก พบว่าคุณแม่ตั้งครรภ์เป็นตะคริวมากถึงร้อยละ 26.8 และส่วนใหญ่เริ่มมีอาการตั้งแต่อายุครรภ์ประมาณ  25 สัปดาห์ และอาการจะดีขึ้นหากได้รับการเสริมแคลเซียม
         หากคุณแม่ท้องไม่ได้กินแคลเซียมบำรุงเลย ร่างกายก็จะยังมีแคลเซียมเพียงพอต่อการสร้างกระดูกของลูกในท้อง เพราะ 90% ของร่างกายคนเราจะมีแคลเซียมสะสมในกระดูกอยู่แล้ว ลูกในท้องสามารถดึงแคลเซียมจากแม่ไปใช้ได้ทันที โดยจะดึงไปใช้ประมาณ  2.5% ของแคลเซียมในตัวแม่  กรณีนี้ถ้าคุณแม่ได้รับแคลเซียมน้อย จะส่งผลเสียต่อตัวคุณแม่ในระยะยาว คือทำให้กระดูกเปราะบาง ผุง่ายกว่าปกติ ฟันผุง่ายขึ้น ซึ่งอาจจะส่งผลในช่วงวัยทอง หลายคนอาจสงสัยว่ามากินเสริมเอาทีหลังได้มั้ย คำตอบคือ ถ้าขาดในช่วงสั้นๆ ก็ยังพอเสริมได้ทัน แต่ถ้าไม่ได้บำรุงเลยในช่วงตั้งครรภ์แล้วมาเสริมกันทีหลัง อาจจะไม่ทันการเพราะช่วงตั้งครรภ์ถือเป็นช่วงยาวนาน ลูกอาจดึงแคลเซียมในกระดูกของคุณแม่ไปใช้เรียบร้อยแล้ว
          ในคนปกติ ร่างกายจะดูดซึมแคลเซียมครั้งละ 500-600 มิลลิกรัม  แต่ปริมาณแคลเซียมที่คุณแม่ท้องต้องการนั้นสูงถึงวันละ 1,000-1,200 มิลลิกรัม ซึ่งมากกว่าคนปกติ เพราะธาตุแคลเซียมในตัวคุณแม่ได้ถูกดึงไปใช้ในการเสริมสร้างกระดูกของเจ้าตัวเล็ก โดยเฉพาะในช่วงไตรมาส 2 นอกจากแคลเซียมจะเป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูก ฟัน และเนื้อเยื่อต่างๆ ยังช่วยทำให้กระบวนการต่างๆ ในร่างกายทำงานได้อย่างปกติ เช่น ระบบของกล้ามเนื้อ ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบเหล่านี้ต้องอาศัยแคลเซียมทั้งนั้น    โดยปกติร่างกายไม่สามารถสร้างแคลเซียมได้เอง ต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น  แหล่งอาหารที่มีแคลเซียม ได้แก่ นม และเนยแข็ง นมสด ปลาไส้ตัน ปลากรอบตัวเล็กตัวน้อยที่ทานได้ทั้งกระดูก ถั่ว และ งา เป็นต้น
564888_10150962727390522_1635057400_n.jpg

ที่มา : http://www.enfababy.com

วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555

คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์

คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์ 


              ปัจจุบันนี้คนส่วนใหญ่นิยมนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานต่าง ๆ มากมาย ซึ่งผู้ใช้ส่วนใหญ่มักจะคิดว่าคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่สามารถทำงานได้สารพัด แต่ผู้ที่มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์จะทราบว่า งานที่เหมาะกับการนำคอมพิวเตอร์มาใช้อย่างยิ่งคือการสร้าง สารสนเทศ ซึ่งสารสนเทศเหล่านั้นสามารถนำมาพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ ส่งผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือจัดเก็บไว้ใช้ในอนาคตก็ได้ เนื่องจากคอมพิวเตอร์จะมีคุณสมบัติต่าง ๆ คือ

1 ความเป็นอัตโนมัติ (Self Acting) การทำงานของคอมพิวเตอร์จะทำงานแบบอัตโนมัติภายใต้คำสั่งที่ได้ถูกกำหนดไว้ ทำงานดังกล่าวจะเริ่มตั้งแต่การนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ การประมวลผลและแปลงผลลัพธ์ออกมาให้อยู่ในรูปแบบที่มนุษย์เข้าใจได้


2 ความเร็ว (Speed) คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนี้สามารถทำงานได้ถึงร้อยล้านคำสั่งในหนึ่งวินาที

3 ความเชื่อถือ (Reliable) คอมพิวเตอร์ทุกวันนี้จะทำงานได้ทั้งกลางวันและกลางคืนอย่างไม่มีข้อผิดพลาด และไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย

4 ความถูกต้องแม่นยำ (Accurate) วงจรคอมพิวเตอร์นั้นจะให้ผลของการคำนวณที่ถูกต้องเสมอหากผลของการคำนวณผิดจากที่ควรจะเป็น มักเกิดจากความผิดพลาดของโปรแกรมหรือข้อมูลที่เข้าสู่โปรแกรม
5 เก็บข้อมูลจำนวนมาก ๆ ได้ (Store massive amounts of information) ไมโครคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน จะมีที่เก็บข้อมูลสำรองที่มีความสูงมากกว่าหนึ่งพันล้านตัวอักษร และสำหรับระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่จะสามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่าหนึ่งล้าน ๆ ตัวอักษร
6 ย้ายข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกทีหนึ่งได้อย่างรวดเร็ว (Move information) โดยใช้การติดต่อสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งสามารถส่งพจนานุกรมหนึ่งเล่มในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ไกลคนซีกโลกได้ในเวลาเพียงไม่ถึงหนึ่งวินาที ทำให้มีการเรียกเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมกัน ทั่วโลกในปัจจุบันว่า ทางด่วนสารสนเทศ (Information Superhighway)


7 ทำงานซ้ำๆได้ (Repeatability) ช่วยลดปัญหาเรื่องความอ่อนล้าจากการทำงานของแรงงานคน นอกจากนี้ยังลดความผิดพลาดต่างๆได้ดีกว่าด้วย ข้อมูลที่ประมวลผลแม้จะยุ่งยากหรือซับซ้อนเพียงใดก็ตาม จะสามารถคำนวณและหาผลลัพธ์ได้อย่างรวดเร็ว






วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ยุคของคอมพิวเตอร์

 ยุคของคอมพิวเตอร์  
         

             compute แปลว่า คำนวณ นับ หากจะเล่าถึงประวัติการคำนวณก็ต้องเริ่มต้นตั้งแต่มนุษย์รู้จักการนับ กำหนดจำนวณ 0 ขึ้น และกว่า 3000 ปีมาแล้ว ที่มีเครื่องคิดเลขของจีนโบราณที่ช่วยให้มนุษย์คำนวณได้รวดเร็วและแม่นยำก็คือลูกคิด (abacus) เครื่องทอผ้าของ Jacquard loom (1805) และเครื่องวิเคราะห์ analytical engine (1834) ของ Charles Babbage จากนั้นประมาณปลายทตวรรษที่ 1960 ก็มีเครื่องคิดเลขแบบเครื่องกลใช้กันอย่างกว้างขวางทั้งสำหรับพ่อค้า นักวิทยาศาสตร์และวิศวกร และมีการสร้างคอมพิวเตอร์แบบอะนาลอก (alalog computer) ต่อจากนั้นจึงมีการพัฒนาคอมพิวเตอร์แบบดิจิตอลขึ้น ซึ่งทำงานได้รวดเร็ว และเชื่อถือได้กว่าคอมพิวเตอร์แบบอะนาลอก จึงทำเป็นที่รู้จักและใช้กันอย่างแพร่หลายอย่างรวดเร็ว 



       ช่วงการพัฒนาฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์แบบดิจิตอล สามารถแบ่งได้เป็น 6 ยุค ดังนี้
             ยุคแห่งเครื่องจักร The Mechanical Era     (ปี ค.ศ. 1623-1945)           
             ยุคแรก First Generation Electronic Computers    (ปี ค.ศ. 1937-1953)
             ยุคที่ 2 Second Generation   (ปี ค.ศ. 1954-1962)
             ยุคที่ 3 Third Generation     (ปี ค.ศ. 1963-1972)
             ยุคที่ 4 Fourth Generation    (ปี ค.ศ. 1972-1984)
             ยุคที่ 5 Fifth Generation    (ปี ค.ศ. 1984-1990)
             ยุคที่ 6 Sixth Generation      (ปี ค.ศ. 1990-)


 คอมพิวเตอร์ในยุคเครื่องจักร หรือยุคที่ 0
               ก่อนจะมีการสร้างคอมพิวเตอร์ดิจิตอลอิเล็กทรอนิกส์ขึ้นมา (digital electronic computer: คอมพิวเตอร์ที่ ทำงานด้วยระดับสัญญาณไฟฟ้า) ได้มีการสร้างคอมพิวเตอร์จักรกลขึ้นก่อนแล้ว (machanical
computer: คอมพิวเตอร์ที่ทำงานด้วยมอเตอร์และเฟือง) โดยมีนักคณิตศาสตร์ในศตวรรษที่ื 17 ได้ี่มีแนวความคิดสร้างเครื่องจักรกลที่สามารถแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และได้ออกแบบและสร้างเครื่องคิดเลขจักกลที่สามารถ บวก ลบ คูณ และหาร นักคณิตศาสตร์ท่านนั้นได้แก่ Wilhelm Schickhard, Blaise Pascal และ Gottfried Leibnitz
             ส่วนเครื่องจักรคำนวณเครื่องแรกที่สามารถป้อนคำสั่งหรือโปรแกรมได้ คือ เครื่องหาผลต่าง และเครื่องจักรวิเคราะห์ Different Engine (1833) และ Analytical Engine (1842) ของชาร์ลส แบบเบจ (Charles Babbage) แต่ในยุคสมัยของเขานั้นเครื่ิองหาผลต่างยังสร้างไม่สำเร็จเนื่องจากข้อจำกัดทางเทคโนโลยีสมัยนั้น เขาได้มีแนวคิดของการใช้สัญญานปิดเปิดมาใช้ในการคิดประมวลผลข้อมูล โดยแปลงข้อมูลหรือตัวเลขที่ต้องการคำนวณให้อยูู่่ในรูปเลขฐานสอง (binary) แต่ประชาชนทั่วไปไม่ให้ความสนใจนัก เพราะคุ้นเคยกับเลขฐานสิบมากกว่า
             ชาร์ลส แบบเบจ มีผู้ร่วมงานที่ช่วยให้งานของเขาเป็นจริงขึ้นมาคือเครื่องจักรของเขาสามารถโปรแกรมได้ ท่านนี้คือเอดา เลิฟเลซ (Ada Lovelace) เธอได้คิดค้นวิธีการเขียนโปรแกรมสั่งงานคอมพิวเตอร์ ซึ่ง เอดา เลิฟเลซ ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักเขียนโปรแกรมคนแรกของโลก
              ภายหลังจากนั้นได้มีผู้ศึกษางานของแบบเบจ และพัฒนาต่อจนเป็นผลสำเร็จในปี 1953 ซึ่งเครื่องจักรกลนี้สามารถประมวลผลข้อมูลตัวเลขฐานสองทีละ 15 หลัก และสามารถคำนวณหาค่า อัตราการเปลี่ยนแปลง (differential) ได้ถึงอันดับที่ 4 (fourth-order differences) ได้ และเครื่องนี้ได้รับรางวัลในปี 1955 และถูกนำไปใช้ประมวลผลการโคจรของดาวอังคาร
                คอมพิวเตอร์จักรกลที่ประสบความสำเร็จและสามารถใช้งานได้จริงเชิงธุรกิจคือเครื่องที่คิดค้นโดยเฮอร์แมน ฮอลเลอริช (Herman Hollerith) โดยเขาได้นำบัตรเจาะรู (punched-card) มาใช้กับคอมพิวเตอร์ของเขาในการประมวลผลสำมะโนประชากรของสหรัฐในปี 1890 ภายหลังเขาได้ตั้งบริษัทขึ้น คือบริษัท IBM (International Business Machines) นั่นเอง

 คอมพิวเตอร์ยุคที่ 1 (1937-1953)
               คอมพิวเตอร์ในยุคนี้ใช้หลอดสูญญากาศและรีเลย์เป็นอุปกรณ์หลักในวงจรแทนแบบจักรกล โดยหลักการแล้วการทำงานของสวิซไฟฟ้า (เปิด-ปิดวงจร) จะมีความน่าเชื่อถือกว่า และการใช้ไฟฟ้านั้นมีความเร็วกว่าการใช้สวิตซ์จักรกลถึง 1000 เท่า แต่หลอดสูญญากาศที่ว่านี้ มีข้อเสียคือต้องการพลังงานมาก อายุใช้งานสั้น และที่สำคัญคือมีขนาดใหญ่ ซึ่งถือเป็นความไม่สมบูรณ์ของคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ ตัวอย่างเช่นคอมพิวเตอร์ ENIAC ต้องใช้หลอดสูญญากาศถึง 18,000 หลอดต้องการพลังงานไฟฟ้าถึง 140 กิโลวัตต์และหนักถึง 30 ตัน
                    เครื่องคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกของโลกคือเครื่องคอมพิวเตอร์ ABC (1937) พัฒนาโดย ดร. จอห์น วี. อทานาซอฟฟ์ (John V Atanasoff) และ คลิฟฟอร์ด เบอรรี่ (Clifford Berry) เครื่องนี้ไม่สามารถโปรแกรมได้ แต่เป็นพื้นฐานสำหรับคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์แบบฐานสองรุ่นหลัง ๆ
                     ถัดมาในปี 1943 ได้มีเครื่องคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์เครื่องที่ 2 คือเครื่องโคโลสซุส เครื่องนี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ในการทหารนั่นคือ ใช้ถอดรหัสสัญญาณลับที่กองทัพเยอรมันใช้สื่อสารกัน ในสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่เครื่องคอมพิวเตอร์โคโลสซุสได้ถูกเก็บไว้เป็นความลับ จนกระทั่งในช่วงหลังปี ค.ศ. 1970 ซึ่งสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดจึงได้รับการเปิดเผย
                      ต่อมาในปี 1943 J. Presper Eckert และ John V. Mauchly ได้ร่วมมือกันสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่เครื่องแรก เป็นคอมพิวเตอร์สำหรับใช้งานทั่วไปและสร้างได้สำเร็จในปี 1945 เครื่องนี้มีชื่อว่า อินิแอค (ENIAC: Electronic Numerical Integrator and Computer) เครื่องนี้หนัก 30 ตัน ประกอบด้วยหลอดสุญญากาศ 18,000 หลอด กินพื้นที่ถึง 30x50 ช่วงก้าว ใช้กำลังไฟฟ้าถึง 160 กิโลวัตต์ ตอนเครื่อง อินิแอคถูกเปิดทำงานครั้งแรกนั้น หลอดไฟฟ้าถึงกับหรี่สลัวทั่วเมืองฟิลาเดลเฟียที่ซึ่งเครื่องนี้ถูกสร้างที่นี่ ENIAC ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในทางทหารเช่นเดียวกัน โดยใช้ในการคำนวณตารางการยิงและวิถีกระสุน
               ต่อมาทั้งสองท่านได้สร้างเครื่องยูนิแวค (UNIVAC: Universal Automatic Computer) ได้ออกสู่ตลาด เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่ได้ออกแบบมาเพื่อใช้ในด้านการค้าขาย พอเครื่อง UNIVAC ออกมาสู่ตลาด ผู้คนทั่วไปก็เริ่มตระหนักและเห็นความสำคัญของคอมพิวเตอร์ หลังจากได้เห็นผลการทำงานอย่างถูกต้องของการวิเคราะห์การออกเสียงของประชาชนร้อยละห้า จากประชากรทั้งหมด อย่างถูกต้องว่านาย Dwight D. Eisenhower จะเป็นผู้ชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา ในการเลือกตั้ง ปี ค.ศ 1953

 คอมพิวเตอร์ยุคที่ 2 (1954-1962)

            ในยุคที่สองของคอมพิวเตอร์นี้ได้มองเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาคอมพิวเตอร ์ในทุกระดับของระบบคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่เทคโนโลยีที่จะนำมาสร้างวงจร ไปจนถึงการภาษาในการเขียนโปรแกรมต่าง ๆ เพื่อสร้างโปรแกรมคำนวณทางวิทยาศาสตร์
             ในปี 1947 ได้มีการผลิตทรานซิสเตอร์ขึ้นเป็นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา และมีการนำทรานซิสเตอร์ใช้เป็นวงจรสวิตซ์ของคอมพิวเตอร์ มีความเร็วในการสวิตซ์ 30 ล้านครั้งต่อวินาที (หรือปัจจุบันเรียกว่า clock หรือความเร็วของ CPU) การสร้างคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 2 นี้ใช้ทรานซิสเตอร์และไดโอดเป็นหลัก การใช้ทรานซิสเตอร์ทำให้ความเชื่อถือได้ (reliability) สูงขึ้น ทำให้ขนาดของคอมพิวเตอร์เล็กลง และราคาต่ำลง ซึ่งถือเป็นการแก้ปัญหาข้อบกพร่องของคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 1 เหตุผลนี้ ทำให้คอมพิวเตอร์แพร่หลายไปอย่างรวดเร็วในยุคนี้ยังมีความเปลี่ยนแปลงในอีกหลาย ๆ ด้าน เช่น หน่วยความจำหรือที่เก็บข้อมูลได้เปลี่ยนไปใช้เทปแม่เหล็กซึ่งสามารถเข้าถึงข้อมูลแบบสุ่มได้ (random access memory) แทนแบบเดิมที่ใช้รีเลย์ปรอท
              ในยุคนี้การสร้างคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงที่เราเรียกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputers) คือ Livermore Atomic Research Computer (LARC) และเครื่อง IBM 7030 เพื่อตอบสนองความต้องการในด้านความเร็วในการคำนวณ และเริ่มมีการใช้คอมพิวเตอร์กับการสื่อสาร (network) เป็นต้น
       สำหรับทางด้านซอฟต์แวร์ได้มีภาษาระดับสูงหลายภาษาเกิดขึ้น ในช่วงกลางของยุคที่สอง ภาษาที่สำคัญได้แก่ ภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN,1956),ภาษาอัลกอล ALGOL (1958), และภาษาโคบอล (COBOL, 1959) เครื่องคอมพิวเตอร์ที่สำคัญคือเครื่อง IBM 704, 709 และ 7094
                  
 คอมพิวเตอร์ยุคที่ 3 (ปี ค.ศ. 1963-1972)

          นวัตกรรมในยุคนี้คือมีการใช้แผงวงจรรวมหรือ IC : Integrated Circuit (IC ได้ถูกคิดค้นข้นมาในปีี 1958) ในการสร้างคอมพิวเตอร์ IC เป็นทรานซิสเตอร์หลาย ๆ ตัวต่อกันเป็นวงจรอยู่บนแผ่นสารกึ่งตัวนำ (semi-conductor) เช่น แ่ผ่นซิลิกอน ซึ่งเป็นแผ่นบางขนาดเล็ก จึงนิยมเรียกว่าเวเฟอร์ (wafer) การใช้ IC ในคอมพิวเตอร์นี้ ทำให้คอมพิวเตอร์ในยุคนี้มีความสามารถในด้านการคำนวณสูงขึ้น มีความเชื่อถือได้สูงขึ้น และมีขนาดเล็กลง
            นอกจากนี้ ในยุคนี้หน่วยความจำก็เปลี่ยนมาใช้สารกึ่งตัวนำ และมีการสร้างระบบปฏิบัติการขึ้น และมีการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ อาจกล่าวได้ว่า การสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์เป็นจุดเด่นที่สำคัญที่สุดจุดหนึ่งของคอมพิวเตอร์ในยุคนี้
             


 คอมพิวเตอร์ยุคที่ 4 (ปี ค.ศ. 1972-1984)

                  IC ได้ถูกพัฒนาให้มีความหนาแน่นของทรานซิสเตอร์สูงขึ้นเรื่อย ๆ จากบรรจุทรานซิสเตอร์ไม่กี่ร้อยตัว เป็นหลายพันหลายหมื่นตัว ซึ่งเรียกว่า LSI (Large Scale Integrated Circuit: ภายในมีทรานซิสเตอร์มี 1000 ตัว ต่อชิพหนึ่งตัว) และ VLSI (Large Scale Integrated Circuit: ภายในมีทรานซิสเตอร์ม์ 100,000 ตัว ต่อชิพหนึ่งตัว) เมื่อมีการใช้ LSI และ VLSI ในคอมพิวเตอร์ ทำให้คอมพิวเตอร์ในยุคนี้มีขนาดเล็กมาก หน่วยการทำงานของคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ได้แก่ หน่วยประมวลผล หน่วยความจำ ส่วนควบคุมอินพุต/เอาท์พุต สามารถรวมอยู่บนแผ่นชิพเล็ก ๆ เพียงตัวเดียวได้
                 ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ในยุคนี้ที่สำคัญได้แก่การพัฒนาภาษาโปรลอก Prolog (Programming inLogic) ซึ่งเป็นภาษาที่เหมาะสำหรับเขียนโปรแกรมทางด้านปัญญาประดิษฐ์ และสำหรับภาษาอื่น ๆ ก็ได้มีการพัฒนาคอมไพเลอร์ (ตัวแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง) ให้ดียิ่งขึ้น
            นอกจากนี้ได้มีการพัฒนาภาษา C และระบบปฏิบัติการ UNIX โดยเค็น ทอมสัน (Ken Thompson) และเดนนิส ริชชี (Dennis Ritchie) ในห้องปฏิบัติการ Bell ซึ่งถือว่าเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญมาก พวกเขาได้ใช้ภาษา C ที่สร้างขึ้น สร้างระบบปฏิบัติการ UNIX สำหรับเครื่อง DEC PDP-11 จากนั้น UNIX ก็เป็นที่แพร่หลายอย่างรวดเร็ว เพราะถือเป็นปรากฏการณ์ใหม่ที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์เป็นอิสระ จากการที่ต้องเรียนรู้ระบบฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์ทุกครั้งที่จะใช้คอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ 
             เมนเฟรมคอมพิวเตอร์และคอมพิวเตอร์สถานีงาน (workstation) ก็ได้รับการพัฒนาขึ้นในยุคนี้เช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการมีระบบ time-sharing คือแบ่งปันเวลาในการใช้งานหน่วยประมวลผล เนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านี้สามารถมีผู้ใช้หลาย ๆ คนใช้งานพร้อมกันได้ โดยเครื่องที่ผู้ใช้ใช้ในการป้อนข้อมูลและรับผลการประมวลผลเรียกว่าเครื่อง client ผู้ใช้ส่งข้อมูลมาประมวลผลที่คอมพิวเตอร์หลักที่เป็นเมนเฟรมหรือ workstation นี่เองเป็นที่มาของคำว่า workstation หรือสถานีงาน

 คอมพิวเตอร์ยุคที่ 5 - (ปี ค.ศ. 1984-1990)

          การพัฒนาคอมพวิเตอร์ในยุคนี้เน้นในด้านการประมวลผลแบบขนาน (parallel processing) โดยมองเห็นรูปแบบการที่มีตัวประมวลผลหลาย ๆ ตัวช่วยกันประมวลผลพร้อมกันเพื่อเพิ่มความเร็ว
           การพัฒนาด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทั้งเครือข่ายระยะไกล (WAN: Wide Area Network) และเครื่อข่ายระยะใกล้ (LAN: Local Area Network) เป็นไปอย่างรวดเร็ว
            นอกจากนี้ได้มีเทคโนโลยี RISC (reduced instruction set) เป็นสถาปัตยกรรมของไมโครโพรเซสเซอร์ที่ใช้คำสั่งสั้นและเป็นพื้นฐานกว่า CISC (complex instruction set computing) โดยทำให้ความเร็วเพิ่มขึ้นด้วย

 คอมพิวเตอร์ยุคที่ 6 (ปี ค.ศ. 1990- ปัจจุบัน)

             ที่ผ่านมาทั้ง 5 ยุค พัฒนาการของคอมพิวเตอร์จะเป็นไปในทางการปรับปรุงการผลิต และการ เสริมสร้างความสามารถทางด้านการคำนวณของคอมพิวเตอร์เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นการจำกัด ความสามารถทางด้านการป้อนข้อมูล ในปัจจุบัน ความต้องการทางด้านการป้อนข้อมูลอย่างอิสระ โดยใช้เสียงและภาพ ซึ่งถือเป็นการป้อนข้อมูลโดยธรรมชาตินั้นสูงขึ้นเรื่อยๆ ความต้องการคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ที่ไม่เป็นเพียงแต่เครื่องคำนวณ จึงสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความต้องการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในการแก้ปัญหาสังคม เศรษฐกิจ อุตสาหกรรม เทคโนโลยี การติดต่อระหว่างประเทศและอื่น ๆ ในช่วงทศวรรษปี 1990 เช่น
                1) การพัฒนาด้านการผลิตของอุตสาหกรรม การตลาด ธุรกิจ
                2) การพัฒนาทางด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศ
                3) การช่วยเหลือทางด้านการประหยัดพลังงาน
                4) การแก้ไขปัญหาของสังคม การศึกษา การแพทย์

ความสามารถที่คอมพิวเตอร์ยุคที่ 6 ควรจะมี อาจแบ่งได้ดังนี้
       1) การพัฒนาปัญญาให้คอมพิวเตอร์ เพื่อที่จะสามารถนำไปใช้เป็นผู้ช่วยของมนุษย์ได้ สำหรับการพัฒนาด้านปัญญาของคอมพิวเตอร์หรือที่เรียกว่า AI (artificial intelligence) อาจกล่าวได้ว่าเป็นการพัฒนาด้านการป้อนข้อมูลด้วยเสียงและภาพ ความสามารถในการโต้ตอบด้วยภาษาพูด ความสามารถในการเก็บข้อมูลในด้านความรู้และการนำความรู้ไปใช้ การค้นหาความรู้จากข้อมูลมหาศาสล และอื่น ๆ
       2) การลดความยากลำบากในการผลิตซอฟต์แวร์ เป็นการพัฒนาทางด้านการเขียนโปรแกรม พัฒนา ภาษาของโปรแกรมให้ง่ายขึ้น วิธีการติดต่อกับผู้ใช้ และอื่น ๆ
       3) การพัฒนาทางด้านความสามารถ อาจแบ่งย่อย ๆ ได้เป็น
              - การทำให้ขนาดของคอมพิวเตอร์เล็กลง เพื่อให้สามารถพกพาได้ และติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้ ทั้งโดยใช้สายและไม่ใช้สาย
              - การพัฒนาด้านความเร็ว และด้านหน่วยความจำให้เหมาะสมกับงานใหม่ ๆ ที่ยากขึ้น ข้อมูลมากขึ้น
              - การพัฒนาคอมพิวเตอร์ ให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับระบบอื่น ๆ ได้
              - การพัฒนาทางด้านความปลอดภัยของข้อมูลและความเชื่อถือได้

จะเห็นได้ว่าการพัฒนาคอมพิวเตอร์ในโครงการคอมพิวเตอร์ยุคที่ 6 จะไม่เน้นทางด้านการคำนวณมากนัก แต่จะเน้นหนักไปที่การจัดการกับข้อมูลที่มนุษย์เข้าใจได้โดยตรงมากกว่า


ชนิดของคอมพิวเตอร์


ชนิดของคอมพิวเตอร์
ผู้เชี่ยวชาญทางด้านอุตสาหกรรมได้แบ่งคอมพิวเตอร์ออกเป็น 5 ชนิด ได้แก่
คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (personal computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำงานได้ทั้ง รับข้อมูลเข้า ประมวลผล ส่งข้อมูลออก และเก็บข้อมูล ด้วยตัวเอง
คอมพิวเตอร์พกพา (mobile computer) และอุปกรณ์พกพา (mobile device) เป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ผู้ใช้สามารถพกพาไปไหนก็ได้ และอุปกรณ์พกพา หมายถึง อุปกรณ์เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กพอที่คุณสามารถถือไว้ในมือได้
เครื่องให้บริการขนาดกลาง (midrange servers) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ และมีประสิทธิภาพในการคำนวณสูง ซึ่งสามารถรองรับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงกันบนเน็ตเวิร์ค (network) มากกว่าพันเครื่องในเวลาเดียวกัน
เมนเฟรม (mainframe) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ ราคาแพง และมีประสิทธิภาพสูง ที่สามารถรองรับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายมากกว่า พันเครื่อง ในเวลาเดียวกัน และสามารถเก็บข้อมูล คำสั่งต่างๆ ได้มหาศาล
ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีการทำงานที่เร็วที่สุดในบรรดาประเภทของคอมพิวเตอร์ที่กล่าวมา มีประสิทธิภาพสูงสุด และราคาแพงที่สุด คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ใช้สำหรับการทำงานที่มีการคำนวณที่ซับซ้อนมากๆ


ชนิดของคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งได้ตามขนาดและการใช้งานของคอมพิวเตอร์ได้ดังนี้


ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (super computer) 

 


               ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ มีสมรรถนะสูง สามารถประมวลได้เร็ว และมีความสามารถในการเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ เช่น สถิติประชากร การขุดเจาะน้ำมัน คอมพิวเตอร์ชนิดนี้มีราคาแพงที่สุด ส่วนใหญ่จะใช้งานในองค์กรที่มีการทำงานที่ต้องการความเร็วสูง เช่น งานวิเคราะห์ภาพถ่าย จากดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา หรือดาวเทียมสำรวจทรัพยากร งานวิเคราะห์พยากรณ์อากาศ งานทำแบบจำลองโมเลกุล ของสารเคมี งานวิเคราะห์โครงสร้างอาคาร ที่ซับซ้อน ปัจจุบันประเทศไทย มีเครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Cray YMP ใช้ในงานวิจัย อยู่ที่ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์สมรรถภาพสูง (HPCC) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ผู้ใช้เป็นนักวิจัยด้านวิศวกรรม และวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ บริษัทผู้ผลิตที่เด่นๆ ได้แก่ บริษัทเครย์ รีเสิร์ซ (Cray Research), บริษัท เอ็นอีซี (NEC) เป็นต้น


เมนเฟรม (mainframe) 



               เมนเฟรมเป็นคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ แต่เล็กกว่า และมีสมรรถนะต่ำกว่าซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ มีราคาแพง นิยมใช้งานกับธุรกิจขนาดใหญ่ เช่น ธนาคาร โรงแรม หรือ ใช้เป็นเซิร์ฟเวอร์ขององค์การขนาดใหญ่ เป็นต้นได้ชื่อว่าเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ก็เพราะครั้งแรกที่สร้างคอมพิวเตอร์ลักษณะนี้ได้สร้างไว้บนฐานรองรับ ที่เรียกว่า คัสซี่ (Chassis) โดยมีชื่อเรียกฐานรองรับนี้ว่า เมนเฟรม นั่นเอง คอมพิวเตอร์เมนเฟรม ที่มีชื่อเสียงมาก คือ เครื่องของบริษัท IBM

มินิคอมพิวเตอร์ (minicomputer)

 DEC PDP 8 ปี 1965 

            มินิคอมพิเตอร์เป็น คอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะต่ำรองลงมาจากเมนเฟรม คือทำงานได้ช้ากว่า แต่ราคาย่อมเยากว่าเมนเฟรม ใช้ในธุรกิจขนาดกลาง และเล็ก ที่ต้องการความสามารถในการประมวลผลสูง และราคาไม่สูงเกินไป เช่น ตามองค์กร และสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา ต่างๆ เป็นต้น



         


 ไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer) หรือ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (personal computer) 

 

                  คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือ คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ(Desktop computer) หาซื้อได้ง่าย ราคาไม่แพง มีขนาดเล็กกว่ามินิคอมพิวเตอร์ บุคคลทั่วไปสามารถซื้อไว้ใช้งาน หรือ เพื่อความบันเทิง ได้ เหมาะกับการใช้งานที่ไม่จำเป็นต้องใช้ความเร็วสูงมาก แต่ในปัจจุบันความสามารถในการทำงานของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลได้พัฒนาสูงขึ้นมาก และราคาไม่แพง ทำให้เป็นที่นิยมในปัจจุบัน อีกทั้งยังได้รับการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วมากบางเครื่องมีความสามารถมากกว่าเครื่องเมนเฟรมในสมัยแรกๆ เสียอีกด้วยราคาที่ถูกกว่าหลายร้อยเท่าทีเดียว และยังได้มีการพัฒนาคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในรูปแบบที่พกพาสะดวกได้แก่
โน๊ตบุค (Notebook computer,labtop) 

                

               เป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลขนาดเล็กประมาณสมุดโน๊ต โดยทั่วไปมีราคาสูงกว่าและประหยัดไฟมากกว่าคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ มีแบตเตอร์รี่ในตัว สามารถพกพาไปที่ใดก็ได้ และเปิดใช้ได้ไม่จำเป็นต้องมีแหล่งจ่ายไฟ ส่วนใหญ่สามารถเปิดใช้ได้ประมาณ 4 ชั่วโมง ปัจจุบันได้พัฒนาให้มีขนาดบาง และน้ำหนักเบา อีกทั้งยังมีความสามารถเทียบเท่ากับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะอีกด้วย
เทบเล็ต (tablet PC)
                 มีลักษะคล้ายกระดานเขียนตัวหนังสือ สามารถใช้งานได้เหมือนสมุดจดบันทึกหรือสมุดโน๊ต โดยคุณสามารถวาด หรือเขียนตัวหนังสือลงไปบนหน้าจอได้เลย ไม่จำเป็นต้องใช้คีย์บอร์ดเหมาะสำหรับคนที่ชอบเขียนมากกว่าชอบพิมพ์ ในปัจจุบัน เทบเล๊ตสามารถบันทึกเสียงได้ด้วย
พีดีเอ (PDA: Personal Digital Assistant)

                   เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเท่าฝ่ามือ ความสามารถในการประมวลน้อยกว่าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทั่วไป แต่ยังสามารถดูหนัง ฟังเพลง เล่นอินเตอร์เน็ตได้ มีปฏิทิน และสมุดนัดหมาย บางรุ่นสามารถเป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ด้วย มีอุปกรณ์รับเข้า คือ สไตล์ลัส (stylus) ซึ่งมีลักษณะคล้ายปากกา เวลาใช้จะอาศัยแรงกดลงไปบนหน้าจอ พีดีเอ บางรุ่นสามารถสั่งงานด้วยเสียงได้





องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์เบื้องต้น


องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์เบื้องต้น

คำนิยาม :

คอมพิวเตอร์ คือ เครื่องจักรที่ทำงานตามลำดับชุดคำสั่งหรือโปรแกรม ซึ่งมีหน้าที่พื้นฐาน อย่าง คือ ส่วนรับข้อมูลส่วนประมวลผลข้อมูลส่วนแสดงผล และ ส่วนจัดเก็บข้อมูลและคำสั่ง

ชุดคำสั่งหรือโปรแกรม คือ เซตของชุดคำสั่งที่คอมพิวเตอร์สามารถ ตีความ เข้าใจ และ ดำเนินการได้

ส่วนรับข้อมูล (Input) คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับคำสั่ง หรือ ข้อมูลเพื่อส่งต่อไปให้กับส่วนประมวลผล เช่น แป้นพิมพ์ และ เมาส์ เป็นต้น

ส่วนประมวลผล (Processing) คือ ส่วนอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่คำนวณ/เปรียบเทียบ ข้อมูลและชุดคำสั่งที่ได้รับมาจากส่วนรับข้อมูล ภายในของส่วนประมวลผล แบ่งออกเป็น ส่วน คือ ส่วนการคำนวณ/เปรียบเทียบ และ ส่วนควบคุม โดยส่วนคำนวณ/เปรียบเทียบจะทำงานภายใต้การควบคุมของส่วนควบคุม เช่น หน่วยประมวลผลกลาง(Central Processing Unit: CPU) เป็นต้น สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก เราเรียก CPU ว่า Micro-Processorโดย ข้อมูลดิบที่ผ่านขั้นตอนการประมวลผล เราจะเรียกว่า สารสนเทศ (Information)

ส่วนแสดงผล (Output) คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการแสดงคำตอบจากขั้นตอนส่วนประมวลผล เช่น จอภาพ หรือ เครื่องพิมพ์

ส่วนจัดเก็บ (Storage) คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูล สำหรับการเรียกกลับมาใช้ภายหลัง

เป็นการแสดงความสัมพันธ์ของหน้าที่พื้นฐานของระบบคอมพิวเตอร์ โดยส่วนรับข้อมูล (ในรูป คือ แป้นพิมพ์)จะรับข้อมูลหรือคำสั่งจากผู้ใช้ จากนั้นจะทำการส่งคำสั่งนั้นไปให้ส่วนประมวลผล (ในรูปคือ  Intel Pentium 4)ถ้าคำสั่งนั้นเป็นคำสั่งที่ต้องไปอ่านข้อมูลจากส่วนจัดเก็บ คอมพิวเตอร์ก็จะทำการอ่านข้อมูลจาก แผ่นดิสก์เก็ตหรือแผ่นซีดี จากนั้นข้อมูลก็จะถูกส่งจากส่วนจัดเก็บเข้ามาไว้ในส่วนประมวลผล และผลจากการทำงานก็จะถูกส่งไปยังส่วนแสดงผล (ในรูป คือ จอภาพและสามารถนำกลับไปจัดเก็บในส่วนจัดเก็บได้ถ้าหากผู้ใช้ต้องการ


         
 

เหตุผลที่นำ คอมพิวเตอร์มาใช้งาน


             1. สามารถบันทึกข้อมูลต่างๆ ได้รวดเร็ว เช่น การใช้เครื่องอ่านรหัสแท่ง (Bar-code) อ่านเวลาเข้า-ออก ของพนักงาน และคิดราคาสินค้า ในห้างสรรพสินค้า
             2. สามารถเก็บข้อมูลจำนวนมากๆ ไว้ในฐานข้อมูล (Database) เพื่อใช้งานได้ทันที
             3. สามารถนำข้อมูลที่เก็บไว้มาคำนวณทางสถิติ แยกประเภท จัดกลุ่ม ทำรายงานลักษณะต่างๆ ได้ โดยระบบประมวลผลข้อมูล (Data Processing)
             4. สามารถส่งข้อมูลจากที่หนึ่ง ไปยังอีกที่หนึ่งได้อย่างรวดเร็ว โดยอาศัยเทคโนโลยีสื่อสารข้อมูล (Data Communication)
             5. สามารถจัดทำเอกสารต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว ด้วยระบบประมวลผลคำ (Word Processing) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation)
             6. การนำมาใช้งานทั้งด้านการศึกษา การวิจัย
             7. การใช้งานธุรกิจ งานการเงิน ธนาคาร และงานของภาครัฐต่างๆ เช่น การนำคอมพิวเตอร์มาใช้กับงานบัญชี งานบริหารสำนักงาน งานเอกสาร งานการเงิน การจองตั๋วเครื่องบิน รถไฟ
             8. การควบคุมระบบอัตโนมัติต่างๆ เช่น ระบบจราจร, ระบบเปิด/ปิดน้ำของเขื่อน
             9. การใช้เพื่องานวิเคราะห์ต่างๆ เช่น การวิเคราะห์สภาวะดินฟ้าอากาศ สภาพของดิน น้ำ เพื่อการเกษตร
           10. การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อจำลองรูปแบบ เช่น การจำลองในงานวิทยาศาสตร์ จำลองโมเลกุล จำลองรูปแบบการฝึกขับเครื่องบิน
           11. การใช้คอมพิวเตอร์นันทนาการ เช่นการเล่นเกม การดูหนัง ฟังเพลง
           12. การใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกับเทคโนโลยีล้ำสมัยอี่นๆ เทคโนโลยีสื่อสารข้อมูล เกิดเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นต้น 

คอมพิวเตอร์เบื้องต้น



ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทกับมนุษย์เราอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการใช้คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (Desktop) หรือคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Notebook computer หรือ Portable Computer) นั้นยังไม่รวมถึงการที่เราฝังคอมพิวเตอร์ในรูปแบบต่างๆ ก็ได้แฝงอยู่ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ คนส่วนใหญ่จึงมีความเชื่อว่า การมีความรู้เกี่ยวกับการใช้งานคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือที่แยกกันโดยทั่วไปว่า Personal computer นั้น เป็นความสามารถหรือความชำนาญขั้นพื้นฐานที่จำเป็นในการดำเนินชีวิตประจำวันโดยเฉพาะอย่างยิ่งการประกอบธุรกิจ ให้ประสบความสำเร็จ

           1.1.1 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ (Computer system)
ระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก คือ
  1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
  2. ซอฟต์แวร์ (software)
  3. ข้อมูลและสารสนเทศ (Data and information)
  4. กระบวนการทำงาน (Procedures)
  5. บุคลากรทางสารสนเทศ (information system Personnel)

  1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
ฮาร์ดแวร์ หมายถึง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่จับต้องได้และสัมผัสได้อย่างเป็นรูปธรรม หรืออาจกล่าวได้ว่าฮาร์ดแวร์ก็คือเครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องต่อพ่วงต่างๆ  (Peripheral) อาทิเช่น จอภาพ แป้นพิมพ์ เมาส์ เครื่องพิมพ์ เครื่องสแกนเนอร์ เป็นต้นโดยฮาร์ดแวร์ยังรวมถึงชิ้นส่วนของอุปกรณ์ที่อยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย เช่น หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจำหลัก การ์ดแสดงผล และอื่นๆ

2. ซอฟต์แวร์ (software) 
ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรม หมายถึง ชุดคำสั่งที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อควบคุมฮาร์ดแวร์หรือทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยวัตถุประสงค์หลักของซอฟต์แวร์ที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน คือ การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ ซอฟต์แวร์ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 

 2.1 ซอฟต์แวร์ระบบ ทำหน้าที่ควบคุมหรือประสานงานระหว่างฮาร์ดแวร์หรือผู้ใช้ เช่น Windows, Linux เป็นต้น
 2.2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ เป็นชุดคำสั่งที่สร้างขึ้นเพื่องานใดงานหนึ่ง โดยผู้ใช้จะทำงานผ่านทางอินเตอร์เฟสของซอฟต์แวร์ประยุกต์เหล่านี้ เช่น powerpoint , photoshop เป็นต้น

3. ข้อมูลและสารสนเทศ (Data and information)
 ข้อมูล (Data) หมายถึงข้อมูลดิบหรือข้อเท็จจริงที่ได้จากการรวบรวม ซึ่งอาจจะเป็น ตัวเลข ตัวอักษร 
อักขระพิเศษ รูปภาพ หรือ เสียง  ที่สามารถนำไปประมวลผลให้เกิดสารสนเทศในระบบคอมพิวเตอร์ได้
 สารสนเทศ (information) หมายถึง สิ่งที่ได้จากการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งอยู่ในรูปผลลัพธ์ รายงานสรุป หรือรูปแบบที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น  คะแนนสอบของนักศึกษาเป็นข้อมูลเมื่อผ่านกระบวนการตัดเกรด จะได้เกรดเป็นสารสนเทศ เป็นต้น 

4. กระบวนการทำงาน (Procedures)
 กระบวนการทำงาน (Procedures) หมายถึง กฎหรือแนวทางสำหรับบุคลากรในการใช้ ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และข้อมูล กระบวนการทำงานอาจรวมถึงคู่มือการใช้ซอฟต์แวร์และฮาาร์ดแวร์ ที่ผู้ชำนาญด้านคอมพิวเตอร์เขียนขึ้นก็ได้

5. บุคลากรทางสารสนเทศ (information system Personnel)
 บุคลากร หรือ ผู้ใช้ (Users) หมายถึง ผู้ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทั้งส่วนที่เป็นฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และสารสนเทศ นอกจากนี้บุคลากรทางสารสนเทศ (information system Personnel) จะมีบทบาทในการออกแบบและพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์เพื่อสนับสนุนการทำงานของทุกคนในองค์กรให้มีประสิทธิภาพ เช่น โปรแกรมเมอร์ นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ ผู้บริหารฐานข้อมูล วิศวกรซอฟต์แวร์ ผู้บริหารเครือข่าย เว็บมาสเตอร์ เป็นต้น